share

ค่าใช้จ่ายวันโอน ณ กรมที่ดิน มีอะไรบ้าง

Last updated: 22 Sep 2023
230 Views
ค่าใช้จ่ายวันโอน ณ กรมที่ดิน มีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน


ในส่วนของจ่ายใช้จ่ายในการโอนที่ดิน อาจให้ผู้ซื้อและผู้ขายออกค่าใช้จ่ายกันคนละครึ่ง หรือให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งในการโอนที่ดินจะมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

- ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
- ค่าอากร 5 บาท
- ค่าพยาน 20 บาท 
- ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยใช้ราคาสูงสุดในการคำนวณเช่น เจ้าหน้าทีประเมินราคาที่ดิน 500,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 550,000 บาท คำนวณราคาค่าโอนที่ดินโดย 550,000 x 2% = 11,000 บาท
- ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กู้เงินจากสถาบันการเงินมาซื้อเช่น กู้เงิน 500,000 บาทเพื่อซื้อที่ดิน มูลค่าที่จดจำนองคือ 500,000 บาท คำนวณค่าจดจำนองโดย 500,000 x 1% = 5,000 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ 0.50% ของราคาซื้อขาย แต่หากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณเช่น เจ้าหน้าทีประเมินราคาที่ดิน 500,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 550,000 บาท คำนวณค่าอากรแสตมป์โดย 550,000 x 0.50% = 2,750 บาท
- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขาย ซึ่งหากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณ หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์เช่น เจ้าหน้าทีประเมินราคาที่ดิน 500,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 550,000 บาท คำนวณค่าภาษีธุรกิจเฉพาะโดย 550,000 x 3.3% = 18,150 บาท

 

พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ที่ควรรู้


สำหรับผู้ที่ต้องการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น เรื่องที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องศึกษาไว้ คือ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเตรียมพร้อมและจัดการชำระภาษี อีกทั้งพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีที่ต้องเสียอีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2566 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 โดยสาระสำคัญของเนื้อหาคือให้ลดภาษีในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ สิ่งปลูกสร้างที่สามารถลดภาษีได้นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภท คือ

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1 และ 2
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ
เหตุผลที่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เป็นการลดภาษีต่อเนื่องจาก พ.ร.บ.ภาษีและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่สิ้นสุดระยะเวลาแล้ว เพื่อลดภาระและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน และสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มาตราที่ 55 บัญญัติว่าการลดภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการนั้นต้องกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

การโอนที่ดินต้องมีการเตรียมเอกสารก่อนเพื่อให้การยื่นเรื่องเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการติดตามเอกสาร ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินบ่อยๆ อีกด้วย ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมนั้นแตกต่างกันไปตามกรณี หากเตรียมเอกสารพร้อมแล้วก็สามารถไปยื่นเรื่องโอนที่ดินได้ที่สำนักงานที่ดินใกล้บ้าน หรือจะจองคิวผ่านแอปพลิเคชันของกรมที่ดิน เพื่อให้ได้รับการบริการอย่างรวดเร็วที่สำนักงานที่ดินก็ได้เช่นกัน เพียงเท่านี้การโอนที่ดินก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป สำหรับใครที่กำลังมองหาที่ดินพร้อมโปรโมชันในการโอนกรรมสิทธิ์ฟรี ก็สามารถมาเลือกซื้อที่ดินได้ที่บริการ K-Property จากธนาคารกสิกรไทยที่รับรองได้ว่าคุ้มและครบจบในที่เดียว

Cr.ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก K-Property

บทความที่เกี่ยวข้อง
เตรียมพร้อมก่อนโอน มีเอกสารและขั้นตอนอะไรบ้าง
เตรียมพร้อมก่อนโอนบ้าน-ที่ดิน มีเอกสารและขั้นตอนอะไรบ้าง
บ้านแนวราบ คืออะไร ทำไมจึงน่าซื้อ น่าลงทุนในปี 2566
บ้านแนวราบ คืออะไร ทำไมจึงน่าซื้อ น่าลงทุนในปี 2566 บ้านแนวราบ คือ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่มีการก่อสร้างตั้งอยู่บนที่ดินที่ได้รับการจัดสรร และมีเจ้าบ้านหรือผู้มีถือกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียวในที่ดินนั้น ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และทาวน์โฮม ซึ่งหากเจาะลึกในรายละเอียด จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy